IELTS
International English Language Testing System

IELTS คืออะไร
 
IELTS หรือการทดสอบวัดผลภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อใช้ประเมินความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบทั่วโลก ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่มีความประสงค์ที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนต่อ หรือทำงานในสถานที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งในและต่างประเทศ
 
IELTS เป็นระบบวัดผลภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาต่อ ชนิดเดียวที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ภาษาอังกฤษผู้สมัคสอบอย่างมีประสิทธิภาพใน 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง การอ่าน การเขียน และ การพูด รวมถึงความรู้ทางด้านไวยากรณและ์ คำศัพทในการใช้ภาษา โดยให้คะแนนทั้ง 4 ทักษะแยกจากกัน ซึ่งสามารถวัดผลได้ชัดเจน แม่นยำ และถูกต้อง ตรงกับระดับความสามารถในการใช้ภาษาที่แท้จริงของผู้สอบ
 
IELTS เป็นตัวสอบที่ร่วมมือกันระหว่าง the University of Cambridge ESOL Examinations (Cambridge ESOL) บริติช เคานซิล และIDP: IELTS Australia ซึ่งการสอบ IELTS ถือได้ว่าเป็นตัวสอบที่ใช้ประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติสูงสุด ซึ่งครอบคลุมทักษะทางภาษาทั้ง 4 ทักษะไม่ว่าจะเป็น การฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด
 
IELTS ได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ IELTS ยังเป็นที่ยอมรับของสถาบัน กองตรวจคนเข้าเมือง และ องค์กรของรัฐบาลอีกหลายแห่ง
 
สำหรับการสอบ IELTS ผู้สมัครควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี
 
รูปแบบการสอบและประเภทของการสอบ IELTS
 
การทดสอบจะแบ่งออกเป็น 4 หมวด โดยที่ผู้สมัครทุกท่านจะต้องทดสอบ การฟัง และ การพูด เหมือนกัน แต่จะสามารถเลือกหมวดการสอบในส่วนของการอ่าน และการเขียน เป็นแบบเชิงการฝึกอบรมทั่วไป (General Training) หรือ แบบเชิงวิชาการ (Academic)ได้
 
        ผู้สมัครสอบที่มีความประสงค์จะไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือสูงกว่าในทุกๆ สาขา ควรเลือกสอบหมวดการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ (Academic Reading and Writing Modules) จะประเมินความรู้ ความสามารถของผสมัครู้สอบในใช้การภาษาเชิงวิชาการเพื่อการศึกษา เช่น การเจรจาโต้ตอบที่ซับซ้อน การอภิปรายเกี่ยวกับแนวความคิดนามธรรม และ การจัดการข้อมูลต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
 
        ผู้สมัครสอบที่มีความประสงค์จะไปฝึกงานหรืออพยพย้ายถิ่นฐาน ควรเลือกสอบหมวดการอ่านและการเขียนเชิงการฝึกอบรมทั่วไป (General Training Reading and Writing Modules) จะประเมินความสามารถ ทางภาษาของผู้สมัครสอบอย่างกว้างๆ โดยการสอบในหมวดนี้จะเหมาะกับ ผู้สมัครที่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ แต่บางสถาบันต้องการให้ผู้ที่สมัครเรียนสอบ Academic Module อันเนื่องมาจากความยากง่ายของสาขาวิชา ซึ่งผู้สมัครจะต้องสอบถามโดยตรงกับทางสถาบันโดยจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ช่วงคือ 
  • ช่วงเช้า สอบข้อเขียน ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ทดสอบการฟัง 30 นาที การอ่าน 60 นาทีและการเขียน 60 นาที
  • ช่วงบ่าย สอบสัมภาษณ์รายบุคคลกับอาจารย์ชาวต่างประเทศ ใช้เวลาคนละประมาณ 11-14 นาที ซึ่งจะจัดสอบครั้งละ 26 คน
ลักษณะข้อสอบการฟัง พูด อ่าน เขียน
 
การฟัง
        การสอบฟังนั้นใช้เวลา 30 นาที โดยมีคำถามทั้งหมด 40 ข้อ และมี 4 ส่วน สองส่วนแรก จะเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันจะเป็นการสนทนาระหว่างคนสองคน โดยจะมีเนื้อหาหนักไปทางการศึกษา หลังจากนั้นจะเป็นคนพูดเพียงคนเดียว ตัวอย่างหัวข้อที่จะพูด อาจเป็นการสนทนาระหว่างอาจารย์และนักเรียนเกี่ยวกับการบ้าน หรือ อาจจะเป็นการคุยกันในกลุ่มนักเรียนสองสามคนปรึกษากันเรื่องหัวข้อทำวิจัย เลคเชอร์ หรือการพูดแนววิชาการ
        ในการสอบไม่มีผู้ใดได้เปรียบเสียเปรียบ ทั้งนี้เพราะว่าหัวข้อที่นำมาใช้ในการสอบนั้นจะเป็นหัวข้อไม่เน้นไปในวิชาใดวิชาหนึ่ง ความยากจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยในแต่ละส่วน สำเนียงภาษาอังกฤษที่ใช้การ สอบนั้นจะมีหลากหลายด้วยกัน รวมทั้งสำเนียงท้องถิ่นคำถามนั้นจะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
  • ปรนัย
  • ตอบคำถามสั้นๆ
  • เติมคำในประโยค
  • โน๊ตย่อหรือวาดไดอะแกรมflow chart หรือเติมคำในตารางให้สมบูรณ์
  • เขียนในไดอะแกรมว่าแต่ละส่วนที่มีเลขเขียนไว้หมายถึงอะไร
  • จับคู่
  • เรียงลำดับ
        การสอบฟังนั้น จะมีการเปิดให้ฟังเพียงรอบเดียวเท่านั้น ขณะที่ฟังผู้เข้าสอบต้องอ่านคำถามและ เติมคำตอบในกระดาษคำถามไปพร้อมๆ กัน เมื่อฟังเทปเสร็จเรียบร้อย จะมีเวลาให้นำย้ายคำตอบจาก ในกระดาษมาเขียนลงในกระดาษคำตอบ
 
การอ่าน
  • Academic Reading
         มีคำถามทั้งสิ้น 40 คำถาม ให้ทำในเวลา 60 นาที โดยจะมีเรื่องสั้นๆ ให้อ่านสามเรื่องด้วยกัน ความยาวโดยรวมประมาณสองพันถึงสองพันเจ็ดร้อยห้าสิบคำ เนื้อหานั้นจะมาจาก นิตยสารวารสาร หนังสือ และ หนังสือพิมพ์ และมีเนื้อหาเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ในจำนวนนี้ จะมีอย่างน้อยหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวกับ การแสดงความเห็น และอาจจะมีไดอะแกรม กราฟ หรือ ภาพประกอบเรื่องนั้นๆ ถ้าหากเรื่องไหนมีศัพท์เทคนิค ปะปนอยู่ก็จะมีคำอธิบายไว้ให้ข้อสอบจะเพิ่มความยากขึ้นเรื่อยๆ คำถามบางคำถามอาจจะถามก่อนอ่านเนื้อเรื่อง บางคำถามก็ถามหลังเนื้อเรื่อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของคำถามนั้นๆ 
 
 ลักษณะคำถาม 
  • รนัย
  • ตอบคำถามสั้นๆ
  • เติมคำในประโยค
  • ให้โน๊ตย่อหรือวาดไดอะแกรมflow chart หรือเติมคำในตารางให้สมบูรณ์
  • ให้เขียนในไดอะแกรมว่าแต่ละส่วนที่มีเลขเขียนไว้หมายถึงอะไร
  • จับคู่
  • เรียงลำดับ
  • ลักษณะคำถามที่มีคำตอบ ไว้จำนวนมาก ให้เลือก คำตอบที่ให้ไว้ มาเติมในช่องที่เหมาะสม
  • ให้หาว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรให้ผู้อ่าน โดยตอบ yes / no /not given
  • ให้หาว่าเนื้อเรื่องได้กล่าวเรื่องในคำถามไว้หรือไม่ โดยให้ตอบ yes/ no/ not given/ true /false/ not given
        คำถามข้อละหนึ่งคะแนนและผู้สอบควรตรวจสอบให้รอบคอบในการเขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบว่าสะกดได้ถูกหรือไม่และถูกหลักไวยากรณ์หรือไม่ เพราะหากไม่ถูกจะมีการหักคะแนน
  • General Training Reading

        เนื้อหาในการอ่านนั้นจะนำมาจากประกาศ โฆษณา หนังสือราชการ คู่มือ แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ตารางเวลา หนังสือ หรือนิตยสาร โดยส่วนแรกนั้นจะเป็นเรื่องสังคมทั่วไป ภาษาที่เข้าใจง่ายแล้วจะค่อยเพิ่มความยาก ในส่วนของเนื้อหา และการใช้ภาษาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเริ่มขึ้นส่วนที่สอง สาม สี่

การเขียน
  • Academic Writing
        มีเวลาในการเขียน 60 นาที และมีสองหัวข้อที่ต้องทำ ควรใช้เวลาในส่วนแรกประมาณ 20 นาที และเขียนอย่างน้อย 150 คำ ส่วนที่สองนั้นควรใช้เวลาประมาณ 40 นาที และเขียนอย่างน้อย 250 คำ
 
        ในส่วนแรกนั้น ผู้เข้าสอบจะต้องเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดอะแกรมหรือตารางที่มีไว้ให้การทดสอบส่วนนี้เพื่อที่จะวัดความสามารถในการจัดข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูลและความสามารถในการอธิบายขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการจัดลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง และอธิบายการทำงานของสิ่งต่างๆ
 
        ในส่วนที่สองนั้น จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่กำหนดให้ ทั้งนี้เพื่อวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหา และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล สามารถเปรียบเทียบและ ชี้ข้อแตกต่างของเหตุการณ์ ความเห็น หัวข้อที่นำมาให้เขียนนั้นง่ายต่อการเข้าใจ ทั้งสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หรือ กำลังจะเรียนต่อในระดับสูงกว่า
  • General Training Writing 
        จะมีแตกต่างก็คือในส่วนแรกจะได้คำถามที่มีลักษณะ เป็นจดหมายที่เขียนขอข้อมูล หรืออธิบายสถานการณ์และให้เราเขียนตอบ ทั้งนี้เพื่อวัดความสามารถ ในการสื่อสารโต้ตอบระหว่างบุคคล และแสดงความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบ ความต้องการและแสดงความคิดเห็นได้ 
      
        ในส่วนที่สองนั้น ผู้สอบต้องแสดงทัศนะหรือไม่ก็ให้อภิปรายโต้แย้งหรือแสดงปัญหาในหัวข้อที่ให้ไว้ ทั้งนี้เพื่อวัดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล การวางโครงร่างของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา เสนอและชั่งน้ำหนักของความคิดเห็น บทความ หรือ ทฤษฎีต่างๆ ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดไหน
       
        ในการเขียนทั้งสองแบบต้องเขียนตอบในกระดาษคำตอบเท่านั้นหากเขียนในกระดาษคำถามจะได้รับการตรวจ การให้คะแนนก็จะให้น้ำหนักของส่วนที่สองมากกว่าส่วนที่หนึ่ง 
 
         การให้คะแนนส่วนที่หนึ่งนั้นจะให้จาก 
  •  Task Fulfillment
  • Coherence
  • Cohesion
  • Vocabulary
  • Sentence Structure
        การให้คะแนนส่วนที่สองนั้นจะให้จาก
  • Arguments
  • Ideas
  • Evidence
  • Communicative Quality
  • Vocabulary
  • Sentence Structure
        หากเขียนต่ำกว่าจำนวนน้อยที่สุดที่กำหนดไว้จะถูกหักคะแนน
 
การพูด
 
การสอบพูดนั้นจะใช้เวลาตั้งแต่ 11 –14 นาที จะเป็นการสัมภาษณ์ระหว่างผู้เข้าสอบและเจ้าหน้าที่เป็นการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การสอบสัมภาษณ์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน 
        
        ส่วนที่1 ผู้เข้าสอบจะตอบคำถามทั่วไปเกี่ยวกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง บ้าน ครอบครัว การงาน การเรียน ความสนใจ ซึ่งจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-5 นาที
 
        ส่วนที่2 ผู้เข้าสอบจะต้องพูดตามหัวข้อที่ได้รับในการ์ด โดยจะมีเวลาเตรียมตัวหนึ่งนาทีและพูดประมาณสองนาที จากนั้นเจ้าหน้าที่จะถามคำถามหนึ่งหรือสองคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เราพูด
 
        ส่วนที่3 จะเป็นการถกปัญหากันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้เข้าสอบ หัวข้อนั้นก็จะเกี่ยวๆ กับที่ได้รับในส่วนที่สอง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณสี่ถึงห้านาทีการสัมภาษณ์จะมีการบันทึกไว้ด้วยเทปบันทึกเสียง
 
หลักฐานการสมัครสอบ
  1. ใบสมัครที่กรอกด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letter)
  2. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 3 เดือน)
  3. สำเนาเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมเอกสารจริงดังต่อไปนี้
    -
    บัตรประจำตัวประชาชน
    -
    บัตรประจำตัวข้าราชการ
    -
    ใบอนุญาตขับขี่
    -
    หนังสือเดินทาง
  4. ค่าสมัครสอบจำนวน 5,700 บาท
  5. สำเนาผลการสอบครั้งล่าสุด(สำหรับผู้ที่เคยสอบแล้ว)
ถ้าหากสมัครสอบแล้วต้องการเลื่อนวันสอบหรือต้องการยกเลิก จะมีต้องเสียค่าธรรมเนียมห้าร้อยบาทสำหรับการเลื่อนวันที่สอบ และหนึ่งพันบาทสำหรับการยกเลิก ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการแจ้ง ล่วงหน้าก่อน 14 วัน
 
ศูนย์สอบ IELTS ในประเทศไทย
  1. British Council
    สยามสแควร์ ณ อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 ปกติจะจัดสอบทุกสัปดาห์
  2. ศูนย์ข้อมูลการศึกษาต่างประเทศ
    หอสมุดคุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
    โทร. 074-459-321 แฟกซ์074-282-368
  3. ศูนย์ข้อมูลการศึกษานานาชาติ สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
    โทร. 043-343-826 แฟกซ์043-237-302
  4. วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยนเรศวร
    โทร. 055-261-167 แฟกซ์055-261-167
สิ่งที่ควรเตรียมไปในวันสอบ
 
        ดินสอ 2Bยางลบ ปากกา บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรนักศึกษา ขึ้นอยู่กับว่าระบุ อะไรไว้ในใบสมัคร และใบเสร็จรับเงินว่าได้จ่ายค่าสมัครเรียบร้อยแล้ว
 
        สำหรับผู้ที่สอบที่บริติชเคาน์ซิลนั้น ผู้สมัครจะต้องถึงสถานที่สอบ ไม่เกิน8.30น. สอบข้อเขียนจะเสร็จสิ้นไม่เกิน 12.10 น. จากนั้นจะมีการสอบสัมภาษณ์ในช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 12.30 น.- 17.00 น. โดยผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบเวลา สอบสัมภาษณ์ตัวเอง ได้ในวันศุกร์ก่อนวันสอบตั้งแต่เวลา 15.00 น. โดยโทรสอบถามที่หมายเลข 652 5480-9 Ext. 404, 405 หรือ 501 แต่เวลาดังกล่าวนั้นจะยังไม่เป็นที่แน่นอน เวลาที่แน่นอนจะออก หลังจากสอบข้อเขียนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีผู้ขาดสอบหรือไม่ ตารางเวลาจะติดเอาไว้ที่ชั้นล่างในวันสอบนั้นเอง
 
ตารางเวลาในการสอบ
 
08:30 - 08:45 Attendance check at Customer Services
08:45 - 08:55 Candidates Enter Room 1327, 13th Floor
08:55 - 09:15 IELTS test instructions
09:15 - 09:45 Listening Test
09:45 - 09:55 Transfer Time
10:00 - 11:00 Reading Test
11:00 - 11:10 Break
11:10 - 12:10 Writing Test
12:30 - 17:00 Speaking Test (14
นาที per candidate)
 
รายงานผลสอบIELTS
 
ผลสอบจะออกมาหลังการสอบประมาณ 5 วัน รับได้ตั้งแต่เวลาบ่ายโมงตรง โดยผู้รับต้องนำบัตรประจำตัว หรือหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้เข้าสอบ เพื่อขอรับผลสอบ สำหรับผู้ที่ต้องการผลสอบด่วนพิเศษภายในสามวัน ให้แจ้งแก่ศูนย์สอบล่วงหน้าสิบสี่วัน พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมสามร้อยบาท ผลสอบนั้นสามารถเก็บผลสอบไว้ได้ 2 ปี ในใบรายงานผล จะระบุคะแนนความสามารถทั้ง 4 ทักษะและคะแนนเฉลี่ย โดยแบ่งคะแนนออกเป็น 9 ระดับจากสูงไปต่ำ ดังต่อไปนี้
 
ระดับ 9 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษ ดีเลิศ สามารถใช้ภาษาได้อย่าง คล่องแคล่ว ถูกต้องแม่นยำ มีความเข้าใจภาษาดีเยี่ยม ใกล้เคียงเจ้าของภาษา
 
ระดับ 8 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษ ดีมาก สามารถใช้ภาษาได้อย่าง คล่องแคล่ว ถูกต้อง ความผิดพลาด และความไม่เหมาะสม เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
 
ระดับ7 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษดี แต่ยังมีความผิดพลาด และเข้าใจผิดบางโอกาสใช้ภาษาในลักษณะซับซ้อนได้ดี
 
ระดับ 6 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษ ใช้งานได้ สามารถสื่อสาร และเข้าใจ ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ภาษา ในลักษณะซับซ้อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ที่คุ้นเคย
 
ระดับ 5 หมายถึงผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษ ปานกลาง สามารถสื่อสารได้ ในระดับพื้นฐาน แต่ยังใช้ภาษาผิดบ่อยๆ
 
ระดับ 4 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษจำกัด สามารถใช้ภาษา ในลักษณะสถานการณ์ที่คุ้นเคยเท่านั้น
 
ระดับ 3 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษ จำกัดมาก รู้ความหมายกว้าง ๆ และเฉพาะคำที่คุ้นเคยเท่านั้น
 
ระดับ 2 หมายถึง ผู้สอบมีระดับการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้น คำพื้นฐาน ไม่สามารถสื่อสารได้ พูดได้เป็นคำๆเท่านั้น
 
ระดับ 1 หมายถึง ผู้สอบเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ใช้ภาษา ไม่ได้เลย 
 

 
Penprapa Advisory Study Abroad
29/19-21 Piboonsongkram Rd., Suanyai,
Muang, Nontaburi Thailand 11000
Tel : 66 2 966 6508, 66 2 966 6990
Fax : 66 2 966 6990
Email Address :
pasa@pasa.co.th
PASA ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ
29/19-21 ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่
อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร : 66 2 966 6508, 66 2 966 6990
แฟกซ์ : 66 2 966 6990
อีเมล์ : pasa@pasa.co.th
Copyrights © 2016 Penprapa Advisory Study Abroad. All Rights Reserved.